Unmet needs of future city people with 8 dimensions of Well-being

ARTICLES | May 22, 2022
Unmet needs of future city people with 8 dimensions of Well-being

การพัฒนาเมืองได้วางแผนเพื่อตอบโจทย์สุขภาวะที่ดีสำหรับคนทุกกลุ่ม (For All Well-Being) และตอบโจทย์การพัฒนาเมืองให้อยู่ดีมีสุขในระยะยาว ประเทศไทยมีอัตราการพัฒนาความเป็นเมือง เพิ่มมากกว่า 50% ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้มีประชากรในกรุงเทพฯ เพิ่มเป็น 2 เท่า ซึ่งมีผู้คนมากกว่า 10.5 ล้านคน (1) ส่งผลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงนักวางแผนต้องเร่งมือกับการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอย่างรวดเร็วตามแนวทางที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตาม โจทย์สุขภาวะที่ดียังมีความต้องการหลายมิติที่ยังไม่ได้ตอบโจทย์ (Unmet Need)  ซึ่งควรนำมาพิจารณาเพิ่มเติมในบริบทของการพัฒนาเมืองในอนาคต เพื่อตอบโจทย์คนเมืองได้อย่างตรงประเด็น  

 

จากแนวโน้มของการพัฒนาเมืองสู่แนวคิด For All Well-Being ที่นำไปสู่การสร้างสุขภาวะที่ดี สามารถแยกประเด็นของ Well-Being ได้ 8 มิติ (3,4,5 และ 6)   

 

  1. มิติด้านสุขภาพร่างกาย (Physical) นอกจากความปลอดภัยภายในเมืองและการดูแลรักษาสุขภาพผ่านเทคโนโลยี แต่ประเด็นที่น่าสนใจในที่คนเมืองต้องการ คือ การพัฒนาพื้นที่เดินเท้า 15-20 นาที เข้าถึงพื้นที่สาธารณูปโภคและชุมชนโดยรอบได้ (2)  รวมถึงเพิ่มพื้นที่สาธารณะ เฉลี่ย 9 ตร.ม.ต่อคน หรือ เทียบกับสนามบอลเฉลี่ยประมาณ 8 สนามภายในเมือง (7)  นอกจากนี้ การมีความรู้และสามารถดูแลหรือตรวจสุขภาพร่างกายตัวเองได้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านโรคภัย (preventive healthcare) อีกทั้ง มีพื้นที่ทำเกษตกรรมในเมือง ปลูกเอง ทำเอง ใช้เอง เข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ (8) และมีที่พักอาศัยสำหรับคนทุกกลุ่มด้วยราคาที่เข้าถึงได้ (9)  

 

  1. มิติด้านสุขภาพทางการเงิน (Financial) การช่วยลดค่าครองชีพเพื่อเอาชนะค่าเงินเฟ้อและช่วยหางานสร้างรายได้ให้กับประชาชนเป็นสิ่งที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ควรเพิ่มเข้ามาตอบโจทย์คนเมือง คือ การให้ความรู้พื้นฐานด้านการลงทุน การออมระยะยาวและการต่อยอดด้านการเงินที่เข้าใจง่าย (10) สอนให้เรียนรู้ประโยชน์จากคริปโตและนวัตกรรมด้านการเงิน รวมถึงให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยวางแผนลงทุน การบริหารหนี้ การวางแผนเกษียณ และการวางแผนประกันเพื่อชุมชน หรือ คนกลุ่มเปราะบาง (Active money coach) (24)  ยิ่งไปกว่านั้น การเตรียมความพร้อมสำหรับคนเมืองในอนาคต โดยเพิ่มหลักสูตรการเรียนด้านการเงินตั้งแต่วัยเด็ก (11) เป็นแนวคิดที่ไม่ควรละเลย  

 

  1. มิติด้านสภาพแวดล้อมสะอาด  ปลอดมลพิษ (Environmental)  การเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะ รวมถึงการบริหารจัดการขยะเป็นมุมที่ให้ความสำคัญเป็นหลัก  เมื่อมองถึงคนเมืองในอนาคต ยังมีประเด็นควรที่ไม่ควรละเลย คือ ส่งเสริมระบบคมนาคมพลังงานไฟฟ้า ลดการใช้น้ำมัน ทั้งมุมมองธุรกิจและชุมชน เตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในเมือง อาทิ ป้องกันน้ำทะเลหนุนสูง ป้องกันการเกิดคลื่นความร้อนภายในเมือง เพิ่มระบบการหน่วงน้ำจากอาคารสู่พื้นที่สาธารณะ (12) นอกจากนี้ ควรมีโครงข่ายพื้นฐานสีเขียว (Green link infrastructure)  ด้วยการสร้างทางเดินและคมนาคมด้วยพื้นที่สีเขียว ตั้งหอฟอกอากาศระดับเมือง เพื่อลดฝุ่นพิษ สร้างอากาศบริสุทธิ์ และโปรโมทแนวคิดให้ชุมชนปลูกต้นไม้ให้เหมาะสมกับพื้นที่อาศัยของตัวเองเพื่อสร้างความสมดุลย์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับคนเมือง (13) 

 

  1. มิติด้านสังคมเป็นมิตรและปลอดภัย (Social) นอกจากพัฒนาพื้นที่และสังคมให้ปลอดภัย นำเทคโนโลยีมาใช้ ยังมีประเด็นที่ควรคิดเพิ่ม คือ สร้างประสบการณ์เมือง 24 ชั่วโมง ให้สะดวก ปลอดภัยทั้งกลางวันและกลางคืน เชื่อมทุกพื้นที่ด้วยทางเลือกคมนาคม ทั้งรถ ราง เรือ จักรยาน รถเข็นสำหรับคนทุกกลุ่ม (14) การเดินเท้า 15-20 นาที สามารถเข้าถึงพื้นที่สาธารณูปโภคและชุมชนโดยรอบได้ (2)  อีกทั้ง การมี Drone Center เก็บข้อมูล วิเคราะห์ อัพเดทความเปลี่ยนแปลงและแจ้งเหตุต่างๆ รวมทั้งสามารถรับมือเหตุฉุกเฉิน และ อุบัติเหตุภายในเมือง (15) ดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแจ้งเหตุและให้ข้อมูลต่างๆ ผ่านช่องทางที่ทุกกลุ่มคนเข้าถึง  

 

  1. มิติด้านอาชีพตอบโจทย์การดำรงชีวิต (Occupational) ส่วนสำคัญในมิตินี้ คือ เติมเต็มทักษะทั้งพื้นฐานและเฉพาะด้าน รวมถึงเพิ่มทักษะด้านระบบอัตโนมัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (16) อาทิ อาชีพที่ใช้ทักษะเฉพาะของธุรกิจโลกเสมือน (Metaverse) รวมถึง เปิดพื้นที่สำหรับทดลองทำงานในภาคธุรกิจ (career improvement center) และให้มี career matching สำหรับกลุ่มช่างฝีมือ กลุ่มทักษะพิเศษ (ช่างไฟฟ้า ช่างซ่อมเครื่องยนต์ นวดไทย ฯลฯ) (17) ให้ทุกคนทุกกลุ่มได้มีอาชีพ มีพื้นที่ในการทดลองงานที่ได้ฝึกมา ส่งผลวงกว้างให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจหมุนเวียนครบวงจร 

 

  1. มิติด้านโอกาสทางการเรียนรู้ (Intellectual) ประเด็นที่สำคัญของเมืองในอนาคต คือ การต่อยอดพื้นที่การเรียนรู้เพื่อรองรับกับชุมชนวัยเกษียณ  (Lifelong learning) (18) สามารถหาเลี้ยงชีพได้หรือมีกิจกรรมเสริมทักษะใหม่ๆ ได้ อีกทั้ง พัฒนาพื้นที่โดยรอบของชุมชนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต (19) นำเสนอเนื้อหาด้านความเป็นเมืองอย่างกรุงเทพฯ มาเป็นหลักสูตรเพื่อเตรียมพร้อมเจนเนอเรชันรุ่นถัดไปให้เข้าใจและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (20) นอกจากนี้ บริการห้องสมุด 24 ชั่วโมง พร้อมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัยจะช่วยให้อนาคตการเรียนรู้เข้าถึงทุกกลุ่มคนในสังคมมากขึ้น (24) 

 

  1. มิติสุขภาพด้านอารมณ์ (Emotional) ในมิติมุ่งเน้นไปการดูแลรักษาสุขภาวะภายในใจ สิ่งที่จะช่วยตอบโจทย์คนเมืองในอนาคตคือ มีพื้นที่เพื่อแสดงออก เช่น เล่นดนตรี ศิลปะ กีฬา รวมถึง e-sport สำหรับทุกกลุ่ม รวมถึงมีช่องทางให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและมีราคาที่ทุกคนจ่ายได้ โดยเฉพาะ คนเจนเนอเรชัน z ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิต (20) และมีสถานที่ดูแลด้านสุขภาพจิต อยู่ในระยะการเดินทางภายใน 20 นาที (21)  

 

  1. มิติสุขภาวะทางจิตวิญญาณ (Spiritual) มิตินี้ควรส่งเสริมการดูแลสุขภาพระยะยาว (long-stay health retreat) จะนำไปสู่ความสมดุลของสุขภาพกาย-ใจ-จิตวิญญาณของคนในเมือง (22) อาทิ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เน้นธรรมชาติเป็นที่ฟื้นฟูกายใจ สงบจากภายใน รวมถึง ออกแบบพื้นที่ที่สามารถฟื้นฟูกายใจในเมือง (23)  (Urban Restorative Space) และทำแผนที่แห่งกายใจ (Urban Happiness Map) เช่น สถานที่ทำสมาธิ สถานที่ทางศาสนา พื้นที่สำหรับคนชอบสัตว์เลี้ยง เป็นต้น สามารถสร้างพื้นที่ธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตโดยรอบ รองรับคนทุกกลุ่ม เพื่อเยียวยาสุขภาวะทางจิตวิญญาณที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มคน (24) เมื่อมิตินี้มั่นคงจะสามารถกลับไปตอบโจทย์มิติด้านสุขภาพร่างกายและอารมณ์ที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตที่ดีได้อีกด้วย  

 

จะเห็นได้ว่า แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเมืองในอนาคตอย่างมีความสุขในช่วงเวลาอีก 5-10 ปีข้างหน้านั้นจำเป็นต้องพิจารณามิติที่หลากหลายสำหรับคนทุกกลุ่มด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีโจทย์ที่คนเมืองต้องการลึกๆ และสิ่งที่ท้าทายอีกหลายประเด็นรออยู่ จึงไปสู่คำถามที่ว่า “เราพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงปัจจุบัน เพื่อสุขภาวะที่ดีในอนาคตหรือไม่?”  

 

 

หมายเหตุ : คนทุกกลุ่มหมายรวมถึง กลุ่มคนเปราะบาง กลุ่มคนพิการ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มคนและเด็กยากจน ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพ 

 

ข้อมูลอ้างอิง 

  1. https://futuretaleslab.com/research/future-of-urbanisation-scenarios-greater-bangkok#content-247/page4 

  1. https://www.completecommunitiesde.org/planning/complete-streets/walkable-communities/ 

  1. https://wellnesstool.com/eight-dimensions-if-wellness-was-a-house/ 

  1. https://www.wisconsin.edu/ohrwd/well-being/  

  1. http://burgeonwellness.co.za/the-8-dimension-of-wellness-infographic/ 

  1. https://www.workplacewellnesslab.com/the-8-dimensions-of-wellness/  

  1. www.euro.who.int › Urban-green-spaces-and-health-review-evidence 

  1. https://www.futuretaleslab.com/10-post-covid-19-trends 

  1. https://www.urbandesignmentalhealth.com/journal-3---happy-homes.html 

  1. https://www.investopedia.com/guide-to-financial-literacy-4800530  

  1. https://www.financialeducatorscouncil.org/financial-literacy-for-kids/ 

  1. https://indd.adobe.com/view/9cf5ab87-0deb-44cc-b215-caccd8544d83 /page23 

  1.  

  1. https://risc.in.th/th/news/81/RISC-by-MQDC-เปิดตัว-"ฟ้าใส-2"     

  1. https://indd.adobe.com/view/9cf5ab87-0deb-44cc-b215-caccd8544d83 /page25 

  1. https://standard.wellcertified.com/v7/mind 

  1. https://futuretaleslab.com/research/future-of-urbanisation-scenarios-greater-bangkok#content-247/page15 

  1. https://www.eeco.or.th/th/eec-model 

  1. https://futuretaleslab.com/research/future-of-urbanisation-scenarios-greater-bangkok#content-247/page15 

  1. https://indd.adobe.com/view/9cf5ab87-0deb-44cc-b215-caccd8544d83 /page20 

  1. https://futuretaleslab.com/research/future-of-urbanisation-scenarios-greater-bangkok#content-247/page32 

  1. https://bmchealthservres.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12913-018-2888-1 

  1. https://indd.adobe.com/view/9cf5ab87-0deb-44cc-b215-caccd8544d83/page28 

  1. https://www.researchgate.net/Urban-Spirituality-Need-for-Connectedness-and-Communication 

  1. Expert insight from Nebula Corporation Limited 

 

Related Articles
{